เคล็ดลับการทำธุรกิจโลจิสติกส์ในเวียดนาม ให้ประสบความสำเร็จ

0
3699
Vietnam marked on map with red marker

การประกอบธุรกิจทุกประเภทล้วนมีความซับซ้อนในตัวของมันเอง และจะท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก หากคุณไปตั้งต้นธุรกิจในต่างประเทศ เส้นทางสู่ความสำเร็จนั้นย่อมคลาคล่ำไปด้วยสิ่งท้าทายและความไม่แน่นอน โดยเฉพาะเมื่อคุณไม่สามารถสื่อสารในภาษาท้องถิ่นได้

การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคพื้นนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ Freshport Asia ประสบความสำเร็จในประเทศเวียดนามได้อย่างต่อเนื่อง โดย Ms. Mathilde Tran ที่ปรึกษาด้านซัพพลายเชนธุรกิจค้าปลีก เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตขององค์กร และคอยให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจท้องถิ่นทั่วเวียดนามมาโดยตลอด

Ms. Mathilde มีประสบการณ์กว่า 10 ปี ในเครือข่ายธุรกิจค้าปลีก และมีการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านการจัดการสินค้าสดที่เน่าเสียง่าย โดยเป็นผู้ออกแบบและดำเนินโครงการสำหรับเครือข่ายด้านการจัดซื้อจัดหาและการจัดจำหน่ายสินค้าสดเน่าเสียง่าย

สภาพอุตสาหกรรมบริการคลังสินค้าในเวียดนามตอนนี้เป็นอย่างไร

คลังสินค้าและอุปกรณ์ปฏิบัติการต่างๆ ภายในคลังสินค้ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการด้านซัพพลายเชนโดยภาพรวม ในส่วนของอุตสาหกรรมบริการคลังสินค้าของเวียดนามนั้น คาดว่าจะมีการเติบโตประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปี 2018 ถึง 2022  ความต้องการใช้งานคลังสินค้ามาจากสินค้าโภคภัณฑ์ (FMCG), ธุรกิจค้าปลีก และสินค้าส่งออก อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและรองเท้า อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากไม้ โดยในอนาคต คาดว่าอุตสาหกรรมฯ​ จะถูกขับเคลื่อนด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยทุนหลากหลายสัญชาติ พร้อมกับการผลักดันจากรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความต่อเนื่อง

การขยายตัวของความนิยมในการจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ พร้อมความนิยมในการใช้งานสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นของชาวเวียดนาม คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นความต้องการใช้งานคลังสินค้าให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่ต้องการจัดเก็บสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ตามปกตินั้น ความต้องการใช้งานคลังสินค้าจะเพิ่มขึ้นตามยอดสินค้าปลีกที่เติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องมาจากจำนวนประชากรชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บทบาทและบริการเพิ่มมูลค่าในศูนย์กระจายสินค้ามีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย บริการอาทิเช่น การรวบรวมสินค้า การหยิบและบรรจุสินค้า (pick & pack ) สำหรับการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้ใช้บริการ จึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนบริการคลังสินค้าในเวียดนาม

ข้อผิดพลาดที่พบทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องคลังสินค้าในเวียดนามประกอบด้วยอะไรบ้าง

การสร้างคลังสินค้าให้ตรงกับความต้องการนั้นเป็นเรื่องสำคัญ โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของประเภทคลังสินค้า การลงทุนในเฟสต่างๆ และการคาดการณ์ปริมาณสินค้าตั้งแต่ในปีแรกของการดำเนินงาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาพื้นที่สินค้าไม่เพียงพอ

การสร้างคลังสินค้าให้ตรงกับความต้องการนั้นเป็นเรื่องสำคัญ โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของประเภทคลังสินค้า การลงทุนในเฟสต่างๆ (โอกาสการขยายพื้นที่คลังสินค้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต) และการคาดการณ์ปริมาณสินค้าตั้งแต่ในปีแรกของการดำเนินงาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาพื้นที่สินค้าไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ การออกแบบคลังสินค้าที่เหมาะสมนั้น ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่า เรามักจะพบปัญหาคลังสินค้าที่แออัดเพราะไม่มีการพิจารณาถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน (เช่น การจัดสรรพื้นที่พักสินค้า และพื้นที่สำหรับปฏิบัติการเพิ่มมูลค่าสินค้า) ปัญหาเรื่องการขาดพื้นที่พักสินค้านั้นเป็นข้อผิดพลาดที่พบได้ทั่วไป เช่นเดียวกันกับการขาดอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติการตัวอย่างเช่น การหยิบชิ้นสินค้าบนชั้นแพเล็ต

ด้วยเหตุนี้ การออกแบบคลังสินค้าให้สามารถหยิบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในการมอบบริการ เก็บ แพ็ค ส่ง (fulfillment) สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้คลังสินค้าแบบดั้งเดิมยังต้องใช้เอกสารกระดาษจำนวนมากในการดำเนินงาน รวมทั้งขาดการวางแผนในการลงทุนนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน

ท้ายที่สุด คือ การละเลยข้อกำหนดด้านความปลอดภัย (ทางเดิน บริเวณพักผ่อน และจุดชาร์จไฟรถฟอร์คลิฟต์) ซึ่งปฏิบัติการคลังสินค้าที่มีมาตรฐานนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบว่าด้วยเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (HSE) เป็นอันดับแรก

ความท้าทายที่พบทั่วไปในการดำเนินงานโลจิสติกส์ในเวียดนามคืออะไร

ความท้าทายที่แทบทุกบริษัทในเวียดนามจะต้องประสบพบเจอก็คือ การขาดกำลังคนที่จะเป็นผู้นำในการดำเนินงานโลจิสติกส์ ยกตัวอย่างเช่น การรับคนเข้ามารับหน้าที่บริหารคลังสินค้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตำแหน่งนี้ต้องใช้คุณสมบัติด้านการเป็นผู้นำ และทักษะการจัดการองค์กรและการบริหารงานที่ดี

การที่ฝ่ายขายและฝ่ายผลิตมีมุมมองในการวางแผนงานที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดการทำงานแบบ ‘ไฟไหม้ฟาง’ ที่ต้องเร่งปล่อยสินค้าออกสู่ตลาดให้ทันเวลา นอกจากนี้ โลจิสติกส์มักจะถูกมองว่าเป็นเพียง ‘การปฏิบัติงาน’ ส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน ซึ่งไม่ได้รับการกำหนดยุทธศาสตร์จากฝ่ายบริหารระดับสูง

ทั้งนี้ ความบกพร่องในการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังนำไปสู่การวางแผนงานที่ล้มเหลว และส่งผลต่อศักยภาพของงานโลจิสติกส์ได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น การที่ฝ่ายขายและฝ่ายผลิตมีมุมมองในการวางแผนงานที่ไม่ตรงกัน ทำให้เกิดการทำงานแบบ ‘ไฟไหม้ฟาง’ ที่ต้องเร่งปล่อยสินค้าออกสู่ตลาดให้ทันเวลา นอกจากนี้ โลจิสติกส์มักจะถูกมองว่าเป็นเพียง ‘การปฏิบัติงาน’ ส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน ซึ่งไม่ได้รับการกำหนดยุทธศาสตร์จากฝ่ายบริหารระดับสูง

อะไรคือสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการดำเนินงานด้านคลังสินค้าในเวียดนาม

สิ่งที่ท้าทายที่สุด คือการขาดการศึกษาและการฝึกอบรม ซึ่งปัจจุบัน ความจำเป็นและความต้องการทักษะและประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์โดยตรงในเวียดนามกำลังเพิ่มขึ้น พร้อมกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของภาคส่วนโลจิสติกส์ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมฯ ยังต้องการให้มีการเปิดสอนหลักสูตรโลจิสติกส์ขั้นสูงในราคาเอื้อมถึงได้ ภายในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค และโรงเรียนสายอาชีพ เนื่องจากงานคลังสินค้าต้องอาศัยทักษะเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทักษะการทำงานและการจัดการจึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานโลจิสติกส์เป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการโลจิสติกส์ของเวียดนาม

ความรุ่งเรืองของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับความสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ในเวียดนามยังคงใช้เอกสารกระดาษในการดำเนินงานอยู่ การขาดความเชื่อมต่อระหว่างผู้ที่อยู่ในส่วนต่างๆ ของซัพพลายเชนจึงเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญในการทำงาน ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนจากการใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคู่ค้าเป็นหลัก ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการโลจิสติกส์ที่ต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมากยังคงต้องพึ่งพาต้นทุนแรงงานที่ต่ำ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเรื่องนี้ เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำในเวียดนามกำลังปรับสูงขึ้น

เพื่อให้ก้าวทันตามสถานการณ์ การปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องถูกปรับให้สอดประสานกับระบบบริหารจัดการคลังสินค้า ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในหลายพื้นที่ผ่านการจัดการคำสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพ

เพื่อให้ก้าวทันตามสถานการณ์ การปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องถูกปรับให้สอดประสานกับระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (warehouse management system) ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในหลายพื้นที่ผ่านการจัดการคำสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสั่งซื้อสินค้าคงคลัง การส่งรายการสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์ และการอัพเดทรายการสินค้าขาเข้าแบบอัตโนมัติ

ซึ่งในปัจจุบัน ศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัยหลายแห่งในเวียดนามได้ปรับใช้เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ มาสนับสนุนดำเนินงานของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และมีประสิทธิผล

ข้อแตกต่างหรือความท้าทายในเรื่องซัพพลายเชนสินค้าสดที่เน่าเสียง่ายมีอะไรบ้าง

เนื่องจาก ผลิตผลสด (fresh produce) นั้นเน่าเสียได้ง่าย และมีอายุการเก็บรักษาที่จำกัด การขนส่งสินค้าในซัพพลายเชนสู่ตลาดจึงต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถรักษาสภาพความสดใหม่เอาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาคุณภาพของผลิตผลสดในระหว่างกระบวนการกระจายสินค้า การควบคุมห่วงโซ่ความเย็นที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับความพร้อมและคุณภาพของคลังสินค้าเย็น และรถขนส่งควบคุมอุณหภูมิ รวมไปถึงการเชื่อมโยงช่องว่างในระหว่างช่วงรอยต่อของการขนส่ง เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ ความปลอดภัยทางอาหาร ก็ถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในซัพพลายเชนของผลิตผลสดเช่นกัน เนื่องจากการรักษาความสมบูรณ์ของอาหารนั้นถือเป็นหัวใจของการกระจายสินค้า

ความท้าทายในการกระจายผลิตผลสดในเวียดนามมีอะไรบ้าง

หัวใจของอาหารเวียดนามนั้นอยู่ที่ความสดใหม่ วัตถุดิบที่สดสะอาดถือเป็นเครื่องหมายการค้าของอาหารเวียดนาม โดยผลิตผลสดส่วนใหญ่มักมาจากฟาร์มขนาดเล็กและแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง สินค้าเหล่านี้จึงต้องผ่านกระบวนการซัพพลายเชนที่ซับซ้อน ก่อนที่จะมาถึงมือผู้บริโภค

ความกระจัดกระจายของแหล่งผลิตในซัพพลายเชน นับเป็นเรื่องท้าทายอย่างมากในกระบวนการขนส่งผลิตผลสดในเวียดนาม การเชื่อมต่อแหล่งผลิตเข้ากับเครือข่ายการกระจายสินค้า จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ความบกพร่องในเรื่องวิธีการจัดการสินค้าเน่าเสียง่ายและความขาดแคลนห่วงโซ่ความเย็น ทำให้การกระจายผลิตผลสดต้องพึ่งพาซัพพลายเชนในรูปแบบของตลาดสด ซึ่งมีโอกาสที่อาหารจะเกิดการปนเปื้อนหรือเน่าเสีย และเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ง่าย

การสร้างเครือข่ายการกระจายผลิตผลสดแบบควบคุมอุณหภูมิ ด้วยการลงทุนกับคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ และการขนส่งด้วยรถบรรทุกควบคุมอุณหภูมิจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ การสร้างห่วงโซ่ความเย็นต้องอาศัยการควบคุมที่ครอบคลุมทั่วทั้งซัพพลายเชน เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร ความสามารถในการติดตามสินค้า และมีความโปร่งใส่ทั้งกระบวนการไปจนถึงการดูแลจัดการสินค้าเน่าเสียง่าย

อะไรคือเรื่องที่ท้าทายมากที่สุดในการกระจายผลิตผลสด

ความเสี่ยงหลักในการกระจายผลิตผลสด คือ อาหารเน่าเสีย ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว หนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลกนั้นไม่ได้รับการบริโภค

อุปสรรคอื่นๆ ประกอบด้วย

  • การปนเปื้อนข้าม ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกันระหว่างอาหารพร้อมรับประทานและอาหารสด หรือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตราย
  • ความถี่ของการขนส่ง ในลักษณะของการจัดส่งผลิตผลสดแบบรายวัน
  • การรักษาคุณภาพของห่วงโซ่ความเย็น ซึ่งต้องมีระดับอุณหภูมิที่คงที่เพื่อรักษาคุณภาพอาหาร (ขึ้นอยู่กับคุณภาพความพร้อมของคลังสินค้าเย็น และรถห้องเย็น)
  • กระบวนการทำงานที่ต้องมีความโปร่งใส โดยต้องมีการเก็บบันทึกและรายงานผลอุณหภูมิ พร้อมสามารถติดตามสินค้าได้ทั้งแบบ FIFO และ FEFO
  • ความซับซ้อนของกระบวนการ และความพร้อมในการจัดการสินค้า ซึ่งสินค้าแต่ละชนิดจะมีความต้องการแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีความยืดหยุ่นในซัพพลายเชน เช่น การจัดส่งแบบแพเล็ตรวม (mixed pallet)
  • Interested in learning more? Contact Mathilde at mathilde.tran@freshport.asia

อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Airfreight Logistics เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Airfreight Logistics หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้NokScoot เปิดบริการเที่ยวบินเส้นทางตรงสู่ซัปโปโร
บทความถัดไปYakima Chief Hops สร้างประวัติศาสตร์ ขนส่งฮอปส์สดจากอเมริกาถึงเกาหลีภายในหนึ่งวัน
Satida Tinarak
Satida Tinarak is a fresh writer who loves to read political novels or even constitutional law. Politics news is a subject that she never gets tired of. The Logistics Industry has now become one of her interests that is leading her towards another step towards furthering her knowledge.