CLIVE Data Services และ TAC Index บริษัทผู้วิเคราะห์และให้บริการข้อมูลสำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศ ระบุว่าอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากภาวะวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงในปีที่ผ่านมา โดยในเดือนมิถุนายนมีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นหนึ่งเปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ในขณะที่สายการบินต่างบริหารจัดการพื้นที่ระวางสินค้าด้วยความระมัดระวัง

ทั้งนี้ กระบวนการวิเคราะห์สภาพอุตสาหกรรมของ CLIVE Data Services จะเปรียบเทียบสภาวะปัจจุบันกับสภาพตลาดในช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ในปี 2019 รวมถึงเปรียบเทียบข้อมูลของปี 2020 ด้วย ซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นความมีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ดียิ่งขึ้น

ในขณะที่ปริมาณสินค้าคิดตามน้ำหนักที่ใช้ในการคำนวณค่าระวางของเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในปี 2019 ทว่าเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2020 กลับพบว่ามีความต้องการใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 36 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่พื้นที่ระวางสินค้าของเดือนมิถุนายน 2021 เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปี 2019 หดตัว 22 เปอร์เซ็นต์ และขยายตัว 31 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2020

Mr. Niall van de Wouw กรรมการผู้จัดการ บริษัท CLIVE Data Services กล่าวว่า “ดูเหมือนว่าตลาดการขนส่งสินค้าทางอากาศทั่วโลกในตอนนี้กำลังกลับเข้ารูปเข้ารอย ซึ่งสะท้อนความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวว่า เรากำลังจะก้าวพ้นผลกระทบจาก COVID-19 อย่างไรก็ตาม การเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปนี้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับการขาดพื้นที่ระวางสินค้า ซึ่งสวนทางกับความต้องการใช้บริการในระดับสูง รวมทั้งภาวะความผันผวนในระดับสากล ในเดือนมิถุนายน เราสามารถสังเกตเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของพื้นที่ระวางสินค้า ซึ่งมีความชัดเจนว่าสายการบินต่างๆ กำลังบริหารจัดการเที่ยวบินการให้บริการด้วยความระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากแรงกดดันที่ถาโถมเข้ามาจากทุกทิศทาง และในกรณีของเที่ยวบินขนส่งสินค้าที่ปฏิบัติการด้วยเครื่องบินโดยสาร ถือว่าเป็นปฏิบัติการที่มีต้นทุนสูง และถ้าอัตราค่าบริการลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นไปได้ว่าสายการบินต่าง ๆ จะต้องยกเลิกการให้บริการในรูปแบบนี้ ซึ่งหมายความถึงพื้นที่ระวางที่จะถูกนำออกจากตลาด อย่างไรก็ตาม เรายังคงคาดการณ์ว่าอัตราโหลดแฟกเตอร์และอัตราค่าบริการจะยังคงอยู่ในขาขึ้น โดยยังไม่มีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น”

นอกจากนี้ TAC Index ยังบ่งชี้ถึงระดับปัจจุบันของ ‘พื้นที่ระวางภายใต้ข้อจำกัด’ และผลกระทบที่มีต่ออัตราโหลดแฟกเตอร์และความต้องการใช้บริการ

“มีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าพื้นที่ระวางสินค้าจะกลายมาเป็นข้อจำกัดในระยะเวลาหนึ่ง ในขณะที่เที่ยวบินโดยสารเริ่มกลับมาให้บริการมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ระวางใต้ท้องเครื่องลดลง รวมไปถึงลดโอกาสในการให้บริการขนส่งสินค้าด้วย” Mr. Gareth Sinclair จาก TAC กล่าว


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Airfreight Logistics เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Airfreight Logistics หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Qatar Airways Cargo มอบทางเลือกบริการขนส่งเภสัชภัณฑ์ ด้วยตู้ RLP รุ่น Releye® ของ Envirotainer
บทความถัดไปCEVA เปิดตัวบริการขนส่งทางอากาศเส้นทางใหม่ เชื่อมเกาหลี จีน สู่สหรัฐอเมริกา
Thanathas Akkhachotkawanich
Bangkok grew, Australian aged, Silicon Valley matured, this aspiring writer adds flavor to our team with his aspiring smile and quill-tip talents.