Turkish Cargo ขนส่งม้า 63 ตัว จาก Chicago สู่ Istanbul

0
568

สายการบิน Turkish Cargo ปฏิบัติการขนส่งม้าสำเร็จอีกครั้ง โดยการขนส่งสัตว์มีชีวิตในครั้งนี้ สายการบินฯ ได้ขนส่งม้าทั้งหมด 63 ตัว จาก Chicago สู่ Istanbul อย่างปลอดภัย ซึ่งในจำนวนนี้ม้ากว่า 59 ตัว ได้รับการขนส่งข้ามทวีปบนเที่ยวบินเดียวกัน

เพื่อเป็นการเน้นย้ำด้านความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับการขนส่ง Turkish Cargo ได้จัดทำสภาพแวดล้อมภายในอากาศยานให้คล้ายคลึงกับแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของสัตว์ พร้อมทั้งดูแลใส่ใจเหล่าสัตว์มีชีวิตอย่างดีที่สุด 

สำหรับการขนส่งม้าจาก Chicago สหรัฐอเมริกา สู่ปลายทางใน Istanbul ประเทศตุรกีในครั้งนี้ สายการบินฯ ได้ใช้คอกม้าที่ได้รับการออกแบบพิเศษ พร้อมติดตั้งพื้นผิวกันลื่นและขอบโค้งมนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกสบายแก่ม้า ทั้งนี้ ตามข้อบังคับสากลแล้ว การขนส่งม้าจะไม่สามารถขนส่งได้โดยไม่มีผู้ควบคุมดูแล Turkish Cargo จึงได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่จากสายการบินฯ ซึ่งได้รับรอง IATA Live Animals Regulation (LAR) ติดตามดูแลสัตว์ไปด้วยตลอดการเดินทาง 

หลังจากม้าทั้งหมดเดินทางไปถึงท่าอากาศยาน Ataturk ม้าเหล่านี้ก็ได้รับการเก็บตัวเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ในห้องรับรองสัตว์มีชีวิตภายในท่าอากาศยานฯ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับปัจจัยแวดล้อมตามธรรมชาติของสัตว์ ก่อนที่ม้าเหล่านี้จะได้รับการส่งมอบแก่เจ้าของในประเทศตุรกี ผ่านประตูโหลดเฉพาะกิจซึ่งช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ทั้งนี้ Turkish Cargo นำเสนอบริการขนส่งสัตว์มีชีวิตให้แก่ลูกค้ากว่า 127 ประเทศทั่วโลก โดยทุกขั้นตอนการปฏิบัติการ ตั้งแต่การรับสัตว์ สถานที่จัดเก็บ และการดำเนินการขนส่ง สายการบินฯ ได้ปฏิบัติการภายใต้มาตรฐาน IATA LAR (International Air Transport Association, Live Animals Regulations) อีกทั้งยังครอบคลุมถึงการปฏิบัติการบันทึกข้อมูล การบรรจุ การติดฉลาก และการทำเครื่องหมายตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเช่นเดียวกัน


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Airfreight Logistics เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Airfreight Logistics หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Yusen Logistics ก้าวเป็นผู้รับจัดการขนส่งสินค้าจากเอเชียบริษัทแรกที่เข้าร่วมโครงการ SAF ของ United Airlines
บทความถัดไปEmirates SkyCargo บรรลุหลักชัยขนส่งวัคซีน COVID-19 ทั่วโลก กว่า 600 ล้านโดส